การพัฒนาสู่ความยั่งยืน
กระบวนการกำหนดประเด็นสำคัญ
ในการกำหนดประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เราได้อ้างอิงขั้นตอนในการจัดทำตามแนวทางของกรอบการรายงานสากล Global Reporting Initiative (GRI) Standards เราจะมีการทบทวนและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นสำคัญทุกปีโดยพิจารณาจากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีนัยสำคัญต่อทั้งไมเนอร์และผู้มีส่วนได้เสียของเรา
กระบวนการกำหนดประเด็นสำคัญ
1. การระบุประเด็นสำคัญ | วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายใน แนวโน้มประเด็นด้านความยั่งยืนทั้งในระดับโลกและระดับอุตสาหกรรม ตลอดจนกฎข้อบังคับใหม่ โดยมีการพิจารณาข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เพื่อให้มั่นใจว่าประเด็นสำคัญและปัจจัยเสี่ยงใหม่ไม่ถูกมองข้าม |
2. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย | ดำเนินการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายนอกและภายในเพื่อระบุประเด็นสำคัญ โดยทบทวนประเด็นที่ถูกระบุบในปีก่อนหน้าความท้าทายและประเด็นที่ถูกระบุในปีปัจจุบันเพื่อให้สะท้อนกับบริบทในปัจจุบัน |
3. การจัดลำดับความสำคัญ | จัดลำดับประเด็นสำคัญตามกรอบการประเมิน Double Materialityโดยพิจารณาถึงผลกระทบทางการเงินและที่ไม่ใช่ทางการเงิน โดยผลกระทบทางการเงินจะพิจารณามุมมองทั้งความเสี่ยงและโอกาสต่อบริษัท และถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรของบริษัท ความเสี่ยงที่ไม่ใช่ทางการเงินจะพิจารณาผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยพิจารณาและประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้อง |
4. การทบทวน | นำเสนอผลลัพธ์ของการจัดลำดับประเด็นสำคัญ ในรูปแบบ Materiality Matrix (ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ) เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการเพื่อความยั่งยืน |
5. การเปิดเผยข้อมูล | รายงานแนวทางการจัดการและผลการดำเนินงานของประเด็นสำคัญ |
ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ
