บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

ความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่ไมเนอร์ให้ความสำคัญสูงสุด โดยการปลูกฝังการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้อยู่ในการดำเนินธุรกิจของทุกกลุ่มธุรกิจซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงของบริษัท

โครงสร้างการกำกับดูแลการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไมเนอร์และหน้าที่รับผิดชอบ

ไมเนอร์ตระหนักดีว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณ รวมถึงการผสมผสานการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกหน่วยปฏิบัติการของธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและการประสบความสำเร็จทางธุรกิจ เราจึงปลูกฝังการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้อยู่ในทุกหน่วยปฏิบัติการของธุรกิจ ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงของบริษัท โดยกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเราได้รับการจัดทำขึ้นจากวิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์กร กลยุทธ์ทางธุรกิจของไมเนอร์ ร่วมกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแนวโน้ม โอกาสและความเสี่ยงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปัจจุบันและที่อุบัติใหม่ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติเป้าหมายความอย่างยั่งยืนระยะยาวของไมเนอร์ และกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับการดำเนินการในระยะสามปี โดยเป้าหมายและกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าวนี้ได้รับการนำเสนอในการประชุมทุกปี และมีการรายงานทบทวนความคืบหน้าทุกไตรมาส

คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบริหารความเสี่ยง (Sustainability and Risk Management Oversight Committee: SRMOC) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อกำกับดูแลคณะกรรมการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Committee) และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและกำกับดูแลกิจการภายใน (Risk, Control & Compliance Committee) โดยคณะกรรมการ SRMOC นี้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ บริษัทเพื่อช่วยในการปฏิบัติตามพันธกรณีเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการกำกับดูแลนโยบายและแนวทางการดำเนินการเพื่อความยั่งยืน และการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความยั่งยืน รวมถึงความเสี่ยงอุบัติใหม่ ตลอดจนการกำกับดูแลให้คำแนะนำ ด้านนโยบาย แนวทาง และกระบวนการในการติดตามและลดความเสี่ยงดังกล่าว โดยหน้าที่ของคณะกรรมการ SRMOC นี้ยังรวมถึงการชี้บ่งโอกาสที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงดังกล่าวด้วย จากบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ SRMOC ข้างต้นจึงประกอบด้วยกรรมการซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงอย่างน้อย 3 ท่าน โดยในปัจจุบัน คณะกรรมการ SRMOC นี้ประกอบด้วยกรรมการ 4 ท่าน ซึ่งมี 2 ท่านเป็นกรรมการอิสระ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะกรรมการ SRMOC ของไมเนอร์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่

คณะกรรมการการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Committee) จัดตั้งขึ้นเพื่อกำกับดูแลการพัฒนาและการดำเนินงานตามกลยุทธ์การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนให้ครอบคลุมในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยหน้าที่หลักของคณะกรรมการนี้คือส่งเสริมและทบทวนกลยุทธ์การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ตั้งเป้าหมาย กำหนดนโยบาย ตรวจสอบประสิทธิภาพ และสร้างความเชื่อมั่นในการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่มีความถูกต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ คณะกรรมการนี้ประกอบด้วยประธานเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทุกกลุ่มธรุกิจ และฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยมีประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืนเป็นประธานคณะกรรมการ มีการประชุมทุกไตรมาสเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน ทบทวนความคืบหน้าสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน และจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นในด้านต่าง ๆ ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน มีหน้าที่พัฒนา ปรับปรุง และดำเนินการตรามกลยุทธ์การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยรับคำแนะนำจากผู้บริหารระดับสูงของทุกกลุ่มธุรกิจและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเน้นย้ำการนำหลักการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน และช่วยให้มั่นใจว่าโครงการและการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางโดยรวมของไมเนอร์ นอกจากนี้ คณะกรรมการนี้ยังสนับสนุนการติดตามและสื่อสารความคืบหน้าของโครงการและการดำเนินงานด้านความยั่งยืนจากกลุ่มธุรกิจด้วย

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและกำกับดูแลกิจการภายใน (Risk, Control & Compliance Committee) มีการประชุมกันอย่างน้อยทุกไตรมาส โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ในการตรวจสอบการการดำเนินการจัดการความเสี่ยงของทุกหน่วยธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงที่สำคัญได้ถูกชี้บ่งและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านความยั่งยืน และด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ของแต่ละกลุ่มธุรกิจ มีหน้าที่ชี้บ่งความเสี่ยง ติดตามและดำเนินการตามมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยกลุ่มธุรกิจถือเป็นเจ้าของความเสี่ยง จึงมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักในการส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้ความเสี่ยงภายในกลุ่มธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการจัดการความเสี่ยงในปฏิบัติงานแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการระบุระดับและความเบี่ยงเบนของความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของกลุ่มธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในภาพรวมของบริษัท